ในยุคสมัยแห่ง Big
Data ที่ข้อมูลและสถิติเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อทุกวงการ
ไม่เว้นแม้กระทั่งในโลกของฟุตบอล สถิติและ Data ต่างๆได้ถูกนวัตกรรมทางเทคโนโลยีชำแหละเอาข้อมูลที่เกิดขึ้นทุกฝีก้าวในสนาม
ออกมาให้เราได้เห็นในสิ่งที่ตาเปล่านั้นไม่เคยมองเห็นมาก่อน กระนั้นก็ตามข้อมูลเหล่านั้นจะมีประโยชน์อะไร
หากผู้ที่ได้ข้อมูลไปแล้วไม่สามารถทำการวิเคราะห์ต่อและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทีมได้
เรามักได้เห็นการนำเสนอข้อมูลสถิติผ่านทางสื่อต่างๆอยู่เสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกมสำคัญๆ และนับวันก็มีข้อมูลที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น
เทคโนโลยีสามารถบอกได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ได้อย่างแม่นยำและน่าทึ่งมากครับ
แต่ในส่วนของโค้ชหรือผู้จัดการทีมนั้น จะต้องมีมุมมองของนักวิเคราะห์ที่สามารถแปลความหมายข้อมูลเหล่านั้นให้ออก
เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาข้อบกพร่องของทีม รวมถึงวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของคู่ต่อสู้ได้
ซึ่งมันจะนำไปสู่การวางแผนและรูปเกมในเวลาที่ต้องเจอกัน
ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อข้อมูลบอกว่า ผู้เล่นคนหนึ่งในตำแหน่งกองหน้านั้นมีเส้นทางการวิ่งที่ไกลมากมี
Heat
Map อยู่ในแดนตัวเองสูง และหลายครั้งก็ลงมาถึงมุมธงและหน้าปากประตูของฝั่งตนเอง
โค้ชจะวิเคราะห์ข้อมูลนี้อย่างไร โค้ชบางคนอาจยกย่องว่าผู้เล่นกองหน้าคนนั้นว่ามีความขยันและรับผิดชอบมาก
ลงมาช่วยไล่บอลถึงหน้ากรอบประตูฝั่งตนเอง แม้กระทั่งผู้บรรยายเกมก็ชมผู้เล่นคนนี้ว่ามีความมุ่งมั่นกับเกมสูง
ซึ่งเรามักได้ยินกันบ่อยๆจนเกิดความเชื่อว่าถูกต้อง แต่ในขณะที่โค้ชอีกคนนั้นกลับตำหนิผู้เล่นคนดังกล่าวว่า
ทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของตัวเองหากทีมตัดบอลได้
แล้วไม่มีข้างหน้าอยู่ใครจะเป็นคนทำประตู และทำให้ระยะในการทำเกมรุกนั้นไกลเกินไป..!! ส่งผลทำให้ทีมตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำเกมรุกได้ลำบาก
หรือกระทั่งข้อมูลสดๆร้อนๆในเกม ยูฟ่า
แชมเปี้ยน ลีกระหว่าง บาเซโลน่า กับ แอตแลนติโก มาดริด
สถิติบ่งบอกว่าบาเซโลน่านั้นต่อบอลกันสำเร็จถึง 623 ครั้งจากความพยายาม 701 ครั้งในขณะที่ แอตแลนติโก
มาดริด ของเซมิโอเน่ ต่อบอลได้ 156 ครั้งจากความพยายาม 231
ครั้ง โอเคแอตฯมาดริดอาจจะมีผู้เล่นที่น้อยกว่าก็จริงแต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรปล่อยให้ผู้เล่นของบาเซโลน่าต่อบอลกันได้ถึงขนาดนั้น
และผลการแข่งขันก็ออกมาตามที่คุณๆได้ทราบกันไปแล้ว แต่ทว่าหากเราวิเคราะห์ข้อมูลของระยะในการการต่อบอลของทีมเจ้าบุญทุ่มแล้วล่ะก็
จะเห็นว่าโดยมากแล้วเป็นการต่อบอลในระยะสั้น แน่นอนล่ะว่าเป็นการออกบอลให้ที่ตัว
การรับมือกับวิธีการเล่นแบบนี้จะต้องทำอย่างไร ต้องมาร์คชิดใช่หรือไม่ เพราะหากปล่อยให้เคาะไปเรื่อยๆแบบนั้นก็คงหาจังหวะเข้าทำได้แน่ๆ
หรืออีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ บอลที่ไปถึง
เมสซี่ นั้นมาจาก อัลเวสและอิเนสต้า มากที่สุด เพราะฉะนั้นหากแอตฯมาดริดจะลดประสิทธิภาพของ
เมสซี่ ลงควรต้องทำอย่างไร แต่การที่ผู้เล่นทั้งทีมลงไปกองหน้าปากประตูนั้น คงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและใช้พละกำลังที่เยอะกว่าอีกด้วย
ถึงตรงนี้จึงอยากชี้ให้เห็นครับว่าแม้เทคโนโลยีจะนำมาซึ่งข้อมูลที่หลากหลายและละเอียดถี่ยิบสักเพียงใดก็ตาม
แต่การนำเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ต่างหากเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ย้อนกลับมามองในบ้านเรา
น่าจะเริ่มเก็บข้อมูลเหล่านี้กันได้แล้วนะครับ โค้ชและทีมงานเองจะได้ฝึกการ คิดเคราะห์แยกแยะข้อมูล
ก็ไหนเราบอกว่าเราจะไปบอลโลก ถามเกมนึงผู้เล่นทั้งทีมเราวิ่งไประยะทางเท่าไร
ใช้พลังงานไปเท่าไร เรารู้รึยังครับ?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น